วันจันทร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2557

แก้วมังกร (Dragon fruit)


              แก้วมังกร ภาษาอังกฤษชาวเอเชียเรามักนิยมเรียกกันว่า Dragon fruit แต่สำหรับต่างประเทศในแถบยุโรปนั้นจะใช้คำว่า Pitaya ส่วนแก้วมังกร ชื่อวิทยาศาสตร์เราจะเรียกว่า Hylocereus undatus (Haw) Britt. Rose.
             แก้วมังกร มีถิ่นกำเนิดในแถบอเมริกากลาง นำเข้ามาในทวีปเอเชียที่ประเทศเวียดนามก่อนเมื่อประมาณ 100 ปีที่แล้ว จัดเป็นไม้ในตระกูลกระบองเพชร สามารถปลูกได้ทั่วประเทศ แต่แหล่งเพาะปลูกที่สำจะอยู่ที่จังหวัดจันทบุรี ชลบุรี กาญจนบุรี สระบุรีและสมุทรสงคราม ซึ่งผลผลิตมากในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษศจิกายน โดยเป็นผลไม้ที่มีรูปร่างกลมรี เปลือกมีสีแดง เมื่อผ่าครึ่งจะเห็นเนื้อเป็นสีขาวหรือแดงทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์นั้นๆ มีเมล็ดคล้ายเมล็ดแมงลักฝังอยู่ทั่วผล โดยแก้วมังกรจะมีสายพันธุ์ดังนี้คือ แก้วมังกรพันธุ์เนื้อขาวเปลือกแดงที่จะให้รสชาติหวานนิดๆ อมเปรี้ยวหน่อยๆ แก้วมังกรพันธุ์เนื้อขาวเปลือกเหลืองให้รสชาติออกหวาน และแก้วมังกรพันธุ์เนื้อแดงเปลือกแดงที่มีรสชาติหวานกว่าพันธุ์อื่นๆ โดยวิธีการรับประทานก็รับประทานเหมือนแตงโม นำมาผ่าคลึ่งแล้วใช้ช้อนตักรับประทานได้เลย
            แก้วมังกรเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกายหลายชนิด อย่างเช่น วิตามินซี วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 ธาตุแคลเซียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุแมกนีเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก เป็นต้น ถ้ารับประทานแก้วมังกร 1 ลูก น้ำหนัก 100 กรัม ร่างกายจะได้ คาร์โบไฮเดรต 12.4 กรัม โปรตีน 1.4 กรัม ฟอสฟอรัส 32 มิลลิกรัม แคลเซียม 9 มิลลิกรัม วิตามินซี 7 มิลลิกรัม พลังงาน 66 กิโลแคลอรี่ และใยอาหาร 2.6 กรัม และสารอื่นๆอีกด้วย แก้วมังกรเลยถูกจัดเป็นอาหารเพื่อสุขภาพชนิดหนึ่งที่กำลังได้รับความสนใจ เพราะเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพของคุณผู้หญิงที่รักสวยรักงามอีกด้วย
ประโยชน์ของแก้วมังกร
แก้วมังกรลดความอ้วนได้จริงหรือ? ได้แน่นอนเพราะเป็นผลไม้ที่มีไขมันไม่อิ่มตัว และแก้วมังกรมีแคลอรี่ต่ำเป็นตัวช่วยในการควบคุมน้ำหนักได้เป็นอย่างดีและเป็นผลไม้ที่มีเนื้อเยอะ ทานแล้วอิ่มท้องนาน เรียกได้ว่าสามารถรับประทานแทนอาหารหนึ่งมื้อได้เลย แม้จะทานเยอะแค่ไหนก็ไม่ทำให้อ้วน แถมช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่ง สดใสดูมีน้ำมีนวลอีกด้วย แต่ทั้งนี้ควรรับประทานอย่างพอประมาณหรือวันละไม่เกิน 1 ลูก ถ้าจะให้ดีในทุกๆวันไม่ควรรับประทานผลไม้เดิมๆซ้ำๆติดต่อกันหลายวัน เพื่อให้ได้สารอาหารอย่างหลากหลาย เพื่อที่จะได้ประโยชน์ต่อร่างกายอย่างเต็มที่ โดยการรับประทานในปริมาณที่เหมาะสตามหลักโภชนาการนั้นควรรับประทานผลไม้ให้ได้วันละ 3-5 ส่วนนั่นเอง

ประโยชน์ของแก้วมังกร

  1. ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใส ชุ่มชื้น
  2. เป็นผลไม้ที่ช่วยดับร้อน ดับกระหายได้เป็นอย่างดี
  3. ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้แข็งแรง
  4. แก้วมังกรลดน้ำหนักและช่วยควบคุมน้ำหนักได้ด้วย เนื่องจากเป็นผลไม้ตัวช่วยในเรื่องการลดความอ้วนเนื่องจากมีแคลอรี่ต่ำ
  5. ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ซึ่งมีส่วนช่วยในการชะลอวัยความแก่ชรา และริ้วรอยต่างๆ
  6. มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ
  7. ช่วยป้องกันการอุดตันของหลอดเลือดหัวใจ
  8. มีส่วนในการช่วยรักษาโรคเบาหวาน
  9. ช่วยบรรเทาอาการโรคความดันโลหิตได้
  10. มีส่วนช่วยบรรเทาอาการของโรคโลหิตจาง
  11. มีส่วนช่วยลดอัตราการเกิดโรคมะเร็ง
  12. ช่วยกระตุ้นการขับน้ำนมในสตรี
  13. ช่วยดูดซับสารพิษต่างๆออกจากร่างกาย เช่น สารตกค้างอย่างตะกั่ว ที่มาจากควันท่อไอเสีย หรือสารตกค้างที่มาจากยาฆ่าแมลง
  14. ช่วยบำรุงกระดูกและฟันของคุณให้แข็งแรง
  15. มีกากใยสูงช่วยในการขับถ่ายให้สะดวก แก้อาการท้องผูก
  16. ช่วยปรับสมดุลของแบคทีเรียในลำไส้ แก้ปัญหาการขับถ่ายต่างๆให้ดีขึ้น
  17. มีส่วนช่วยป้องกันโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
  18. ช่วยเสริมสร้างการทำงานของระบบกำจัดของเสียในร่างกายให้ดียิ่งขึ้น
  19. ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
  20. นิยมนำมารับประทานเป็นผลไม้สด
  21. ใช้เป็นส่วนผสมในฟรุตสลัดและน้ำปั่นผลไม้
Add to Cart More Info

มะนาวโห่


    มะนาวโห่

               ชื่อ : หนามแดง

               ชื่อวิทยาศาสตร์ : Carissa carandas L.  

               ชื่อวงศ์ : APOCYNACEAE

               ชื่อเรียกอื่น : หนามขี้แฮด มะนาวไม่รู้โห่ และมะนาวโห่

               ลักษณะ : ไม้พุ่มรอเลื้อย หรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูงถึง 5 เมตร มียางขาว ใบ เดี่ยว ออกตรงข้าม รูปขอบขนาน หรือรูปไข่ กว้าง 1.5-4 เซนติเมตร ยาว 3-7 เซนติเมตร ปลายมนหรือเว้าบุ๋ม ดอก ออกเป็นช่อ ยาวประมาณ 3.5-5.5 เซนติเมตร กลีบดอกสีขาว หรือสีชมพู โคนเชื่อมเป็นหลอด ยาว 16-21.5 มิลลิเมตร ปลายแยกเป็นแฉก ผลรูปไข่ กว้าง 12-17 มิลลิเมตร  ยาว 15-23 มิลลิเมตร สีแดง ชมพู หรือดำ

               การกระจายพันธุ์ : เป็นพืชปลูกที่คาดว่ามีถิ่นกำเนิดในอินเดีย พบในประเทศอินเดียอินโดนีเซีย มาเลเซีย ศรีลังกา พม่า จีน และไทย



    สรรพคุณทางยา มะนาวโห่ :

               ราก : แก้คัน ทำให้เจริญอาหาร บำรุงธาตุ ขับพยาธิ บำรุงกระเพาะอาหาร ดับพิษร้อน แก้ไข้

               แก่น : บำรุงไขมันในร่างกาย บำรุงธาตุ ทำให้ร่างกายแข็งแรง

               เนื้อไม้ : บำรุงไขมันในร่างกาย บำรุงธาตุ แก่อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง

               ใบ : แก้ท้องเสีย แก้เจ็บคอ เจ็บในปาก แก้ปวดหู แก้ไข้

               ผล : รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน ฝาดสมาน

     
              จากภาพและข้อมูลเหล่านี้ น่าจะทำให้เห็นถึงความแตกต่างของพืชสมุนไพรทั้ง 2 ชนิดได้มากขึ้น โดยเบื้องต้นคาดว่า มะม่วงหาว มะนาวโห่ ที่หลาย ๆ คนเคยรู้จัก น่าจะหมายถึง ผลมะนาวโห่ เสียมากกว่า ส่วนการปลูกต้นมะนาวโห่นั้น ทำได้ง่าย ๆ เนื่องจากมะนาวโห่ขึ้นได้ในดินทุกชนิด โดยมีขั้นตอนดังนี้
     
    วิธีการปลูกมะนาวโห่ โดยใช้เมล็ด

               1. เตรียมกระถางสำหรับเพาะเมล็ด ใส่ดินผสมแกลบหรือกากมะพร้าวลงไป โดยเว้นช่องดินให้รากชอนไชได้ จากนั้นรดน้ำให้ชุ่ม

               2. โรยเมล็ดลงไป จากนั้นโรยดินกลบเมล็ดเพียงบาง ๆ แล้วรดน้ำอีกเล็กน้อย

               3. ตั้งกระถางรับแดดบ้าง แต่อย่าเพิ่งให้โดนแดดจัด จากนั้นประมาณ 10 วัน ต้นอ่อนก็จะเริ่มโต

               4. เมื่อต้นกล้าแข็งแรงขึ้น ค่อยทำการแยกปลูกเป็นต้นเดี่ยวต่อไป

               
              สำหรับใครที่รักสุขภาพและกำลังมองสมุนไพรพันธุ์ดีมาปลูกไว้ในบ้าน เพื่อนำผลมารับประทาน มะนาวโห่ ดูจะตอบสนองความต้องการได้เป็นอย่างดี เพราะสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายชนิด เช่น เมนูมะม่วงหาวมะนาวโห่ จากรายการภัตตาคารบ้านทุ่ง ที่มีทั้งผัดไทย น้ำพริก เลยทีเดียว ดังนั้น หากมีโอกาสก็อย่าลืมลองหามารับประทานกันดูนะคะ
Add to Cart More Info

มะม่วงหาว


มะม่วงหาว คือ มะม่วงหิมพานต์ นี่เอง.!!
       มะม่วงไม่รู้หาว มะนาวไม่รู้โห่ พันธุ์ไม้ชื่อแปลกนี้ มีที่มาจากการที่นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ได้เรียกชื่อผลไม้ชนิดดังกล่าว ให้สอดคล้องกับผลไม้ในวรรณคดีไทย เรื่องนางสิบสอง ตอน พระรถเมรี ที่ในเรื่องได้กล่าวถึงผลไม้สดชนิดหนึ่ง ซึ่งมีรสชาติเปรี้ยวจัด จนทำให้ผู้ที่กำลังง่วงนอน เมื่อรับประทานผลไม้ชนิดนี้เข้าไปแล้ว จะรู้สึกกระชุ่มกระชวยและตื่นตัวขึ้นมาทันที
     
              ในปัจจุบันมีการเรียกชื่อ มะม่วงไม่รู้หาว มะนาวไม่รู้โห่ เพียงสั้น ๆ ว่า มะม่วงหาว มะนาวโห่ รวมถึงผู้บริโภคที่รักสุขภาพ ได้เริ่มหันมาสนใจผลไม้ชนิดนี้มากขึ้น เนื่องจากวงการแพทย์ได้ระบุว่า มะม่วงหาว มะนาวโห่ มีฤทธิ์ทางยา สามารถนำไปใช้รักษาโรค หรือรับประทานควบคู่กับยาแผนปัจจุบันได้เป็นอย่างดี แต่ยังมีหลายคนที่ไม่ทราบว่า แท้จริงแล้ว มะม่วงหาว กับ มะหนาวโห่ เป็นพืชคนละชนิดกัน โดย มะม่วงหาว คือ มะม่วงหิมพานต์ ขณะที่ มะนาวโห่ คือ หนามแดง ซึ่งวันนี้เราได้นำรายละเอียดของสมุนไพรทั้ง 2 ชนิด จากเว็บไซต์ฐานข้อมูลพันธุ์ไม้ องค์กรสวนพฤกษาศาสตร์ มาแนะนำให้ทุกคนได้รู้จักกันมากขึ้น
     
    มะม่วงหาว มะนาวโห่

    เกร็ดความรู้เกี่ยวกับมะม่วงหาว

               ชื่อ : มะม่วงหิมพานต์

              
     ชื่อวิทยาศาสตร์ : Anacardium occidentale   Linn. 

              
     ชื่อวงศ์ : ANACARDIACEAE

              
     ชื่อเรียกอื่น : ยาโงย ยาร่วง มะม่วงไม่รู้หาว มะม่วงกุลา มะม่วงกาสอ มะม่วงลังกา มะม่วงสิงหน มะม่วงเล็ดล่อ และมะม่วงหยอด

              
     ลักษณะ : ไม้ต้นขนาดกลาง สูงได้ถึง 10 เมตร มีลักษณะเป็นใบเดี่ยว สีเขียวเข้ม ออกสลับกันเป็นรูปไข่กลับ โคนใบสอบ ปลายใบมนป้าน กว้าง 7.5-10 เซนติเมตร ยาว 7.5-20 เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อหลวม ๆ สีแดงอมม่วงหรือสีครีม กลิ่นหอมเอียน ช่อดอกยาว 15-20 เซนติเมตร ดอกย่อยมีขนาดผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร กลีบดอก 5 กลีบ เกสรผู้ 8-10 อัน มีหนึ่งอันที่ยาวกว่าอันอื่น

              
     ผลมีลักษณะเด่น คือ เมื่อแก่ฐานรองดอกจะขยายใหญ่ขึ้นเป็นลักษณะคล้ายผลชมพู่ ยาว 6-7 เซนติเมตร สีเหลืองอมชมพู เมื่อแก่จัดสีแดงและมีกลิ่นหอม เมล็ดมี 1 เมล็ด ติดอยู่ที่ส่วนปลายรูปไต ยาว 2.5-3 เซนติเมตร สีน้ำตาลอมเทา มีเปลือกแข็งหุ้ม

              
     การกระจายพันธุ์ : เป็นไม้ที่ปลูกกันมากทางภาคใต้และตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันปลูกได้ทุกภาค ในภาคเหนือที่จังหวัดเชียงใหม่ก็สามารถขึ้นได้ดี

    มะม่วงหาว มะนาวโห่

    สรรพคุณ มะม่วงหาว :


               ผล : ฆ่าเชื้อ ขับปัสสาวะ พอกดับพิษ แก้โรคลักปิดลักเปิด

               เมล็ด : แก้กลากเกลื้อน แก้เนื้อหนังชาในโรคเรื้อน แก้โรคผิวหนัง แก้ตาปลา แก้เนื้องอก บำรุงไขข้อ บำรุงกระดูก บำรุงเส้นเอ็น บำรุงกำลัง บำรุงผิวหนัง

               เปลือก : แก้บิด ขับน้ำเหลืองเสีย แก้ท้องเสีย แก้กามโรค ทำยาอมรักษาแผลในปาก แก้ปวดฟัน พอกดับพิษ

               ยอดอ่อน : รักษาริดสีดวงทวาร

               ยาง : ทำลายตาปลา กัดทำลายเนื้อที่ด้านเป็นปุ่มโต แก้เลือดออกตามไรฟัน รักษาหูด รักษาขี้กลาก แผลเนื้องอก โรคเท้าช้าง

               น้ำมัน : ฆ่าเชื้อ ทาถูนวดให้ร้อนแดง ยาชา รักษาโรคเรื้อน กัดหูด แก้ตาปลา แก้บาดแผลเน่าเปื่อย
Add to Cart More Info

ยาจากน้ำใบย่านาง หญ้าปากคอกแต่สรรพคุณลึกล้ำ



               ย่านาง สมุนไพรแสนคุ้นเคยและคุ้นลิ้น ตอนนี้ได้กลายมาเป็นสมุนไพรสุดฮิต ที่มีคุณสมบัติปรับสมดุลในร่างกาย เนื่องจากเป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์เย็น และเป็นคลอโรฟิลล์สดจากธรรมชาติ

              เราอาจจะคุ้นเคยกับย่านางในฐานะที่ใช้เป็นเครื่องปรุงรสเพื่อเพิ่มความกลมกล่อม ของแกงหน่อไม้และซุปหน่อไม้ ยอดอ่อนของเถาย่านางนำมารับประทานแกล้มแนมกับของเผ็ดอื่น ๆ บางคนนำใบและยอดอ่อนใส่ในอ่อมและหมกต่าง ๆ ทางปักษ์ใต้นั้นนิยมใช้ยอดอ่อนใส่ในแกงเลียงและแกงหวาน

              ใบย่านางและน้ำคั้นจากใบยังมีแคลเซียมและวิตามินซีจำพวก เอ, บี 1, บี 2 และ เบต้า-แคโรทีน ค่อนข้างสูง คนโบราณเชื่อกันว่ารากของเถาย่านางนั้นสามารถแก้ไขได้ อีกทั้งยังช่วยถอนพิษผิดสำแดงและพิษอื่น ๆ แก้เมาเรือ แก้เมาสุรา แก้โรคหัวใจและแก้ลม ใบก็ช่วยถอนพิษและแก้ไข้

              วิธีทำ

       1.ใช้สมุนไพรฤทธิ์เย็น อาทิ ใบย่านาง 5-20 ใบ, ใบเตย 1-3 ใบ, บัวบก ครึ่ง-1 กำมือ, หญ้าปักกิ่ง 3-5 ต้น ใบอ่อมแซบ (เบญจรงค์) ครึ่ง- 1 กำมือ, ใบเสลดพังพอน ครึ่ง – 1 กำมือ, ว่านกาบหอย 3-5 ใบถ้าใครสะดวกจะใช้ใบย่านาง เพียงอย่างเดียวหรือใช้หลายอย่างรวมกันก็ได้ค่ะ

     

       2.ตัดหรือฉีกใบสมุนไพรให้เล็กลง และนำไปโขลกสมุนไพรให้ละเอียด หรือ ขยี้ หรือนำไปปั่นด้วยเครื่องปั่น (ควรใช้ระยะเวลาไม่นาน 30 วินาที – 1 นาทีก็พอเพื่อให้ผ่านความร้อนน้อยที่สุด คงคุณค่ามากที่สุด)


       3.นำมากรองผ่านกระชอนหรือผ้าขาวบาง


       4.ได้น้ำย่านางแล้ว

              วิธีกิน

              ดื่มน้ำย่านางสด ๆ ครั้งละประมาณครึ่งแก้ววันละ 1-3 ครั้ง ก่อนอาหารหรือตอนท้องว่างหรือจะดื่มแทนน้ำก็ได้ บางครั้งสามารถผสมน้ำมะพร้าว น้ำตาล น้ำมะนาว ในรสชาติไม่จัดเกินไปเพื่อให้ดื่มง่ายขึ้นก็ได้ค่ะ

              สิ่งสำคัญคือความพอดี หมอเขียวบอกว่า บางคนดื่มน้ำย่านางแล้วรู้สึกแพ้ ผะอืดผะอม เพราะฉะนั้น จึงควรกลับไปดูว่าปริมาณการดื่มและความเข้มข้นของสมุนไพรควรเหมาะสมกับตัวเรามากที่สุดและดื่มแบบพอดีกับที่ร่างกายเราต้องการ เพราะถ้าเรารู้สึกผะอืดผะอมขึ้นมาเมื่อไหร่ แสดงว่าร่างกายบอกว่าพอแล้วนั่นเองค่ะ

              สำหรับบางคนที่รู้สึกว่า กินยาก เหม็นเขียว หรือรู้สึกไม่สบาย ให้กดน้ำร้อนใส่น้ำย่านาง หรือนำน้ำย่านางไปต้มให้เดือดก่อนดื่ม หรือผสมกับน้ำสมุนไพรอื่น ๆ ที่ชอบ เช่น ขมิ้น ขิง ตะไคร้

สรรพคุณใบย่านาง

  1. ใบย่านาง ในตำราสมุนไพรจัดว่าเป็นยาอายุวัฒนะ
  2. มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระจำนวนมาก จึงช่วยลดและชะลอการเกิดริ้วและความแก่ชราอย่างได้ผล
  3. ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านโรคในร่างกายให้แข็งแรง
  4. ช่วยเพิ่มความสดชื่นให้กับร่างกาย
  5. ช่วยฟื้นฟูเซลล์ต่างๆในร่างกาย
  6. ช่วยในการปรับสมดุลของร่างกาย
  7. เป็นสมุนไพรที่ช่วยในการลดความอ้วนได้อย่างเห็นผลและปลอดภัย
  8. ช่วยในการเผาผลาญไขมันและนำไปใช้เป็นพลังงาน
  9. ช่วยป้องกันและลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งชนิดต่างๆ
  10. เป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์เย็นเหมาะสำหรับผู้ที่เป็นมะเร็งอย่างมาก
  11. หากดื่มน้ำใบย่านางเป็นประจำ ก้อนมะเร็งจะฝ่อและเล็กลง
  12. ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง
  13. ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ
  14. ช่วยในการบำรุงรักษาตับ และไต
  15. ช่วยรักษาและบำบัดอาการอัมพฤกษ์
  16. ช่วยแก้อาการอ่อนล้า อ่อนเพลียของร่างกาย แม่นอนพักก็ไม่หาย
  17. ช่วยรักษาอาการเกร็ง ชัก หรือเป็นตะคริวบ่อยๆ
  18. ช่วยแก้อาการเจ็บเหมือนมีไฟช็อตหรือมีเข็มแทงหรือมีอาการร้อนเหมือนไฟ
  19. ช่วยป้องกันไม่ให้เส้นเลือดฝอยในร่างกายแตกใต้ผิวหนังได้ง่าย
  20. ช่วยรักษาอาการตกกระที่ผิวเป็นจ้ำๆสีน้ำตาลตามร่างกาย
  21. ช่วยรักษาเนื้องอก
  22. ช่วยรักษาอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลม คลื่นไส้ อาเจียนได้
  23. ช่วยป้องกันโรคภูมิแพ้ ไอจาม มีน้ำมูกและเสมหะ
  24. รากแห้งใช้ในการแก้ไข้ทุกชนิด และลดความร้อนในร่างกาย
  25. รากของย่านางสามารถแก้ไข้ได้ทุกชนิด ทั้ง ไข้พิษ ไข้หัด ไข้เหนือ ไข้ผิดสำแดง เป็นต้น
  26. เถาย่านางมีส่วนช่วยในการลดความร้อนและแก้พิษตานซาง
  27. มีส่วนช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อมาลาเรีย
  28. ช่วยรักษาอาการร้อนแต่ไม่มีเหงื่อ
  29. ช่วยรักษาอาการของโรคเบาหวาน ช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง
  30. มีส่วนช่วยช่วยอาการปวดตึง ปวดตามกล้ามเนื้อ ปวดชาบริเวณต่างๆ
  31. ช่วยรักษาโรคภูมิแพ้
  32. รากของย่านางช่วยแก้อาการเบื่อเมา
  33. ช่วยแก้อาการเหงือกอักเสบอย่างรุนแรงและเรื้อรัง
  34. ช่วยแก้อาการง่วงนอนหลังการรับประทานอาหาร
  35. ช่วยแก้อาการเลือดกำเดาไหล
  36. ช่วยในการบำรุงสายตาและรักษาโรคเกี่ยวกับตา เช่น ตาแดง ตาแห้ง ตามัว แสบตา ปวดตา ตาลาย เป็นต้น
  37. ช่วยรักษาอาการปากคอแห้ง ริมฝีปากแตกหรือลอกเป็นขุย
  38. ช่วยแก้ปัญหาเรื่องเสมหะเหนียวข้น ขาวขุ่น มีสีเหลืองหรือเขียว หรืออาการเสมหะพันคอ
  39. ช่วยบำบัดอาการของโรคไซนัสอักเสบ
  40. ช่วยลดอาการนอนกรน
  41. ช่วยแก้อาการเจ็บปลายลิ้น
  42. ช่วยป้องกันและบำบัดรักษาโรคหัวใจ
  43. ช่วยป้องกันและรักษาโรคหอบหืด
  44. ช่วยรักษาโรคตับอักเสบ
  45. ช่วยรักษาอาการท้องเสีย เพราะช่วยฆ่าเชื้อโรคที่เป็นต้นเหตุได้
  46. ช่วยบรรเทาอาการอาการปวดท้องอย่างเฉียบพลัน
  47. ช่วยแก้อาการท้องผูก ลดอาการแสบท้อง
  48. ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหาร ลำไส้อักเสบ
  49. ช่วยลดอาการหดเกร็งตามลำไส้
  50. ช่วยรักษาอาการกรดไหลย้อน
  51. ช่วยรักษาไทรอยด์เป็นพิษ
  52. ช่วยรักษาโรคนิ่วในไต นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ นิ่วในถุงน้ำดี
  53. ช่วยรักษาอาการปัสสาวะแสบขัด ออกร้อนในทางเดินปัสสาวะ
  54. ช่วยแก้อาการปัสสาวะมีสีเข้ม ปัสสาวะบ่อย หรือมีอาการปัสสาวะออกมาเป็นเลือด
  55. ช่วยรักษาอาการมดลูกโต อาการปวดมดลูก ตกเลือดได้
  56. ช่วยบำบัดรักษาโรคต่อมลูกหมากโต
  57. ช่วยป้องกันโรคไส้เลื่อน
  58. ช่วยในการรักษาโรคเริม งูสวัด
  59. ช่วยป้องกันการเกิดโรคริดสีดวงทวาร
  60. ช่วยรักษาอาการตกขาว
  61. ช่วยป้องกันการเกิดโรคเกาต์
  62. ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย
  63. ช่วยรักษาอาการผิวหนังมีความผิดปกติคล้ายรอยไหม้
  64. น้ำย่านางเมื่อนำมาผสมกับดินสอพองหรือปูนเคี้ยวหมากผสมจนเหลว สามารถนำมาทา สิว ฝ้า ตุ่มคัน ตุ่มใส ผื่นคัน พอกฝีหนองได้อีกด้วย
  65. ช่วยป้องกันและรักษาอาการส้นเท้าแตก เจ็บส้นเท้า
  66. ช่วยรักษาอาการเล็บมือเล็บเท้าผุ โดยรักษาอาการเล็บมือเล็บเท้าขวางสั้น ผุ ฉีกง่าย หรือในเล็บมีสีน้ำตาลดำคล้ำ อาการอักเสบที่โคนเล็บ
  67. สำหรับประโยชน์ของใบย่านางด้านอื่นๆ เช่น การนำแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ยกตัวอย่าง ใบย่านางแคปซูล สบู่ใบย่านางแชมพูใบย่านาง เครื่องดื่มสมุนไพร เป็นต้น
  68. แชมพูสระผมจากใบย่านาง ช่วยให้ผมดกำ ชะลอการเกิดผมหงอก จบแล้วสรรพคุณของใบย่านาง
Add to Cart More Info

ประโยชน์ทางยาจากเปลือกมังคุด




ประเทศไทยนับว่าเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพแห่งหนึ่งของโลก นอกจากพื้นที่ที่อุดมไปด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติ  และสถานที่ท่องเที่ยวมากมายแล้ว ยังมีผักและผลไม้ที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลกอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น ทุเรียน เงาะ มังคุด ฯลฯ  ในบรรดาผลไม้ทั้งหมด “มังคุด” ได้รับการยกย่องให้เป็น “ราชินีแห่งผลไม้” (Queen of fruits) ด้วยลักษณะเฉพาะของผลมังคุดที่มีกลีบเลี้ยงอยู่ที่หัวขั้วของผล คล้ายมงกุฏของราชินี  เนื้อด้านในมีสีขาวนวล รสชาติหวานอมเปรี้ยวอร่อยอย่างยากที่จะมีผลไม้ชนิดใดในโลกเทียบเคียงได้

มังคุด (Mangosteen) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Garcinia mangostana Linn. 

จัดอยู่ในวงศ์ Guttiferae  มังคุดเจริญเติบโตได้ในดินเกือบทุกชนิด แต่ดินที่เหมาะสมควรเป็นดินเหนียวปนทราย ที่มีความอุดมสมบูรณ์สูงสามารถอุ้มน้ำและระบายน้ำได้ดี  พื้นที่ที่เหมาะสมต่อการปลูกมังคุดควรมีสภาพภูมิอากาศร้อนและชุ่มชื้น คือ มีอุณหภูมิอยู่ในช่วง 25-30 องศาเซลเซียสและมีฝนตกชุกสม่ำเสมอ  มังคุดจึงปลูกมากทางภาคใต้ของประเทศไทย 

เปลือกมังคุด (pericarp) 
ด้วยเทคโนโลยีที่เจริญก้าวหน้าในปัจจุบัน กระบวนการทางวิทยาศาสตร์สามารถทำการศึกษาถึงประโยชน์จากสารสำคัญที่มีอยู่ในเปลือกมังคุด คือ แทนนินและแซนโทน สารแซนโทนมีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidants) จึงมีการศึกษามากมายที่ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ของสารแซนโทนที่มีในเปลือกมังคุด  
แซนโทนเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่แรง(potent antioxidants) พบได้มากในเปลือกมังคุด   และมีผลของการศึกษาฤทธิ์ในการจับอนุมูลอิสระโดยวิธี ORAC (Oxygen Radical Absorbance Capacity) Brunswick Laboratories ทำการเปรียบเทียบระหว่างน้ำผลไม้อื่นๆและมังคุด พบว่า มังคุดมีฤทธิ์ในการจับอนุมูลอิสระมากกว่า แครอท ราสเบอรรี่ บลูเบอรรี่ ทับทิม อนุมูลอิสระ (free radicals)เป็นโมเลกุลที่เกิดขึ้นจากกระบวนการลูกโซ่ (chain reaction) ของปฎิกิริยาออกซิเดชัน (oxidation) ที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย  ดังนั้นร่างกายจึงต้องหาทางป้องกันการโดนทำลายจากอนุมูลอิสระ โดยสิ่งที่ร่างกายสร้างขึ้นเพื่อป้องกันตนเอง คือระบบแอนติออกซิแดนท์(antioxidants)  อย่างไรก็ตามภาวะที่ปริมาณอนุมูลอิสระมีมากเกินกว่าระบบแอนติออกซิแดนท์จะจัดการได้ จะเกิดภาวะเครียดขึ้น (oxidative stress)  ก่อให้เกิดผลเสียต่อเซลล์ และการทำลายเซลล์ ซึ่งเป็นสาเหตุ ของการแก่ (aging) และรุนแรงไปถึงการเกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ เช่นการกระตุ้นให้เกิดไขมันสะสมในหลอดเลือดนำไปสู่ภาวะเส้นเลือดตีบ โรคเกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน(autoimmune disease) รวมไปถึงโรคมะเร็ง (cancer) เป็นต้น
สารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidants) ทำลายฤทธิ์ของอนุมูลอิสระโดยป้องกันการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันในส่วนต่างๆ ของร่างกาย  นอกจากร่างกายสามารถสร้างสารต้านอนุมูลอิสระได้เองตามที่กล่าวข้างต้นแล้ว ในวิตามิน แร่ธาตุ และสารจากผักและผลไม้ก็พบสารต้านอนุมูลอิสระอยู่ด้วย   แซนโทนเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่แรง (potent antioxidants)พบได้มากในเปลือกมังคุด   ปัจจุบันมีการศึกษาถึงประโยชน์ของสารแซนโทนจากเปลือกมังคุดในเรื่องต่างๆดังนี้ผลจากฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารแซนโทน จึงป้องกันการเกิดออกซิเดชันของLDL ซึ่งเป็นคลอเลสเตอรอลตัวร้าย  จึงช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ (cardiovascular disease)
ภาวะไขมันอุดตันหลอดเลือดหัวใจ 
อีกทั้งยังลดการทำลายเซลล์ อันเป็นผลจากปฏิกิริยาลูกโซ่ จึงช่วยลดความเสี่ยงและชะลอการแก่ (aging) ด้วย ผลต่อการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งต่างๆรวมถึงการตายของเซลล์มะเร็งในการศึกษาระดับห้องปฎิบัติการ เช่น เซลล์มะเร็งเต้านม,  เซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว , เซลล์มะเร็งตับ, กระเพาะอาหาร และเซลล์มะเร็งปอด

การกลายพันธุ์ของเซลมะเร็ง
- ผลดีต่อระบบภูมิคุ้มกัน  และยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราและแบคทีเรียบางชนิด   เช่น  เชื้อวัณโรค  (Mycobacterium tuberculosis) , เชื้อ S. Enteritidis  และเชื้อ HIV
- ฤทธิ์ในการช่วยขยายตัวของหลอดเลือด (vasorelaxing activities) ดังนั้นจึงมีประโยชน์ในการลดความดันโลหิต (antihypertensive)
- การยับยั้งการหลั่งสารฮิสตามีน (histamine) ฤทธิ์ต้านซิโรโทนิน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการป้องกันโรคภูมิแพ้ (allergies)

อาการแพ้  
การยับยั้งการสังเคราะห์สารพลอสตาแกลนดินอีทู (PGE2) ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดกระบวนการอักเสบต่างๆ เช่น การปวดอักเสบ กล้ามเนื้อ และข้อสารแซนโทนสามารถทำให้ปริมาณน้ำตาลในกระแสเลือดของผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ II(ผู้ใหญ่) ลดลง ซึ่งอาจจะเป็นกลไกที่แซนโทนทำให้การทำงานของอินซูลินดีขึ้น จึงสามารถนำน้ำตาลเข้าสู่เซลล์ได้เร็วขึ้น 
การอักเสบของส่วนต่างๆ แผลภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวาน
มังคุดจึงไม่ใช่เพียงผลไม้ที่มีรสชาติอร่อยแต่ยังมีคุณประโยชน์ต่อร่างกาย ทั้งคุณค่าทางโภชนาการและการนำมาใช้เป็นยารักษาโรคได้อีกด้วย  “มังคุด” จึงเป็นของขวัญล้ำค่าที่ธรรมชาติได้มอบให้กับมวลมนุษยชาติอย่างแท้จริง 

เหตุผล 33 ประการ ที่ควรพิจารณาใช้สารสกัดจากมังคุด
- ต้านอาการเมื่อยล้า (เพิ่มพลังอาหาร)
- ป้องกันการระคายเคือง อักเสบ
- ลดการเจ็บปวด
- ต้านการเกิดแผลในปาก
- ระงับอาการกดประสาท (ลดความเครียด)
- ลดอาการกังวล
- ลดภาวะสมองเสี่อม ช่วยป้องกันความผิดปกติของสมอง
- ป้องกันการเกิดเนื้องอกและมะเร็ง
- เพิ่มภูมิคุ้มกันโรค
- ชะลอความชรา
- ต้านอนุมูลอิสระ
- ต้านเชื้อไวรัส
- ต้านเชื้อแบคทีเรีย
- ต้านเชื้อรา
- ต้านการขับไขมันจากต่อมไขมันใต้ผิวหนังมากเกินไป (ต้านการทำงานของผิวหนังผิดปกติ)
- ลดไขมันที่ไม่ดีในเส้นเลือด (ลด L.D.L.)
- ป้องกันเส้นเลือดแดงแข็งตัว
- ป้องกันโรคหัวใจ
- ป้องกันความดันต่ำ
- ป้องกันอาการน้ำตาลในเลือดต่ำ
- ป้องกันโรคอ้วน (ช่วยลดน้ำหนัก)
- ป้องกันโรคข้อเสื่อม
- ป้องกันโรคกระดูกผุ
- ป้องกันโรคภูมิแพ้
- ป้องกันการเกิดโรคนิ่วในไต
- ป้องกันอาการไข้ (ไข้ระดับต่ำ)
- ป้องกันโรคพาร์กินสัน (โรคเกี่ยวกับระบบประสาทที่ทำให้สั่น)
- ป้องกันอาการท้องร่วง
- ป้องกันอาการปวดในระบบประสาท
- ป้องกันอาการเวียนศรีษะ
- ป้องกันโรคตัวหิน (โรคตาที่เกิดจากความดันสูงในกระบอกตาและทำให้ตาบอดในที่สุด)
- ป้องกันอาการตามัว (เกิดความผิดปกติที่เลนส์ในดวงตา)
- ป้องกันโรคเหงือก
Add to Cart More Info

วันอาทิตย์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ยินดีต้้อนรับสู่เว็บฯ บ้านยาสมุนไพร

          เว็บฯบ้านยาสมุนไพร ยินดีต้อนรับทุกท่านที่สนใจพืชที่เป็นยาจากธรรมชาติในการดูแลบำรุงรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ปราศจากโรคภัย ซึ่งจะได้รวบรวมแนะนำไว้ หรือหากมีแพทย์สมุนไพร ผู้รู้ด้านยาสมุนไพรต่างๆ ก็จะได้รวบรวมมาไว้ให้เป็นประโยชน์ แก่ทุก ๆท่าน และมนุษยชาติต่อไป





Add to Cart More Info